หาก ขุดสำรวจผืนแผ่นดินตุรกีให้ลึกลงไป แน่นอนเหลือเกินว่าคงพบความแตกต่างของหลายๆชั้นดิน แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นความแตกต่างทางแร่ธาตุเท่านั้น ชั้นดินที่ทับถมกันเหล่านั้นยังบอกเล่าถึงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาหลายยุค หลายสมัยกว่า 6,250 ปีก่อนคริสกาล กว่าจะมาเป็น “สาธารณรัฐตุรกี” (Republic of Turkey) ไม่ว่าจะเป็นยุคของอาณาจักรฮิตไตต์ส (Hittites), ฟรีเจีย (Phrygia), ลีเดีย (Lydia), ไบแซนไทน์ (Byzantine), เซลจูคเติร์ก(Seljuk Turk) และออตโตมัน (Ottoman) ซึ่งคงไม่สามารถบอกเล่าเรื่องราวแปดพันกว่าปีให้จบได้ในหนึ่งหน้ากระดาษนี้ ดังนั้นเราจึงสรุปย่อบางช่วง ก่อนที่จะมาถึงจุดเปลี่ยนแปลงสำคัญทางประวัติศาสตร์ของตุรกี
เริ่มต้นกันที่สมัยอาณาจักร ฮิตไตต์ส (Hittites) มีที่มาจากคนส่วนใหญ่ที่เป็นเชื้อสายอินโด -ยูโรเปียน (Indo-European) ได้เข้ามาครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ของอนาโตเลียกลางไว้ ซึ่งเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่เทียบเคียงได้กับอาณาจักรอียิปต์ ในสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 1 (Rameses)เลยทีเดียว โดยทั้งฮิตไตต์ส์และอียิปต์ก็ได้มีการทำสงครามเพื่อที่จะแย่งชิงความเป็น ใหญ่เหนือดินแดนคาเดช (Kadesh) แต่ก็ไม่มีฝ่ายใดที่สามารถเอาชนะได้อย่างเด็ดขาด บทสรุปจึงจบลงด้วยการยุติสงคราม และลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาแห่งคาเดช (Treaty of Kadesh) ในช่วง 1,269 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่มีความเก่าแก่ ที่สุด เท่าที่เคยมีการค้นพบบนโลก
ภายหลังจากที่อาณาจักรฮิตไตส์ได้มีการล่มสลายลงไปจากการถูกโจมตีของชาวอัส ซีเรีย (Assyrian) ดินแดนอนาโตเลียก็ได้กลายเป็นที่อพยพของชนกลุ่มต่างๆ และได้มีการจัดตั้งอาณาจักรน้อยใหญ่ขึ้นอีกหลายอาณาจักรด้วยกัน และหนึ่งในนั้นก็คืออาณาจักรลิเดีย (Lydia) ซึ่งมีความเจริญและความ มั่งคั่งเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างยุโรปและเอเชีย และด้วยเหตุที่มีการค้าขายมาก ชาวลิเดียจึงได้ผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นมาใช้สำหรับค้าขาย
ความมั่งคั่งของอาณาจักรลิเดียนั้น เป็นที่ล่ำลือไปถึงอาณาจักรเปอร์เซีย และด้วยเหตุนี้เอง ที่ทำให้พระเจ้าไซรัส (Cyrus) มหาราชแห่งเปอร์เซียนั้น ได้มีการยกทัพเข้ามาตีอนาโตเลีย จนสำเร็จในช่วง 546 ปีก่อนคริสตกาล
ต่อมาในสมัยพระเจ้าคอนสแตนตินมหาราช โรมันเองก็ได้มีการแผ่ขยายอาณาจักรไปยังฝั่งตะวันออก และได้มีการรวบรวมจักรวรรดิโรมันให้เป็นหนึ่งเดียว และหลังจากนั้นก็ได้มีการย้ายเมืองหลวงจากโรมไปยัง ไบแซนเที่ยม (Byzantium) ซึ่งภายหลังก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) หรือในปัจจุบันก็คือนครอิสตันบูลนั่นเอง
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 มีชาวเติร์กเร่ร่อนเผ่าหนึ่งเรียกตนเองว่า เซลจูค (Seljuk) อพยพจากเอเชียกลางเข้าไปยังดินแดนต่างๆ ในอนาโตเลีย ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้มีการทำสงครามกับจักรวรรดิไบเซนไทน์ โดยการนำทัพของอาลป์ อาร์สลาน (Alp Arslan) จนได้รับชัยชนะ และได้สถาปนาอาณาจักรแห่งแรกขึ้น ชื่อว่า “The Sultanate of Rum” (สุลต่านแห่งรุม) แต่อาณาจักรเซลจูคก็มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ได้ไม่นาน เพราะการแย่งชิงอำนาจกันเอง จนท้ายที่สุดต้องแตกแยกเป็นแคว้นย่อยๆหลายแคว้นด้วยกัน
กระทั่งก้าวเข้าสู่ยุคของจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นยุคแห่งการวางรากฐานทางศิลปวัฒนธรรมให้กับชนชาติตุรกีใน ปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของสุลต่าน สุไลมาน (Sultan Suleyman) จักรวรรดิออตโตมันได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด เรียกได้ว่าเป็นยุคทองของงานศิลปะ วรรณกรรม สถาปัตยกรรม ศาสนวิทยา และศาสตร์แขนงต่างๆ
ช่วงศตวรรษที่ 19 ย่างเข้าสู่ยุคของการเสื่อมถอยของอาณาจักรออตโตมัน โดยครั้งนั้นสุลต่าน อับดุลเมจิต (Abdulmecit) ครองราชบัลลังก์อยู่ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่หลงใหลในความเป็นยุโรปค่อนข้างสูง ซึ่งส่วนหนึ่งได้สะท้อนผ่านออกมาทางสถาปัตยกรรมของพระราชวัง โดลมาบาร์เช (Dolmabace) ที่พระองค์โปรดให้สร้างขึ้นอย่างยิ่งใหญ่อลังการ แต่โชคร้ายที่สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นกำลังอยู่ในภาวะย่ำแย่ถึงขั้นนำไป สู่จุดจบของอาณาจักรออตโตมัน โดยอำนาจสุลต่านถูกยึดไว้โดยกลุ่ม ยังเติร์ก (Young Turks) ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ระบบสาธารณรัฐ นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่อย่างการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ประเทศแล้ว กลุ่มยังเติร์กยังสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ตุรกี โดยการนำประเทศเข้าร่วมกับเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่โชคไม่เข้าข้างกลุ่มยังเติร์ก เมื่อเยอรมันนีแพ้สงคราม จักรวรรดิออตโตมันในสมัยนั้นก็ต้องร่วมรับผิดชอบไปด้วย ผลที่ตามมาก็คือต้องยอมเสียดินแดนที่เคยเป็นเมืองขึ้น รวมทั้งดินแดนที่เป็นบ้านเกิดของตัวเอง และด้วยเหตุนี้จึงมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ลุกขึ้นมาสู้เพื่อปกป้องประเทศ โดยการนำของมุสตาฟา เคมาล (Mustafa Kemal) การต่อสู้กินเวลายืดเยื้ออยู่พอสมควร ก่อนที่ได้รับชัยชนะจากการต่อสู้ขับไล่กองกำลังต่างชาติได้สำเร็จ และท้ายที่สุดได้มีการสถาปณาสาธารณรัฐตุรกีขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1923 ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว มุสตาฟา เคมาล ก็ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนแรกของตุรกี และได้รับสมญานามว่า อตาเติร์ก (Ataturk) หรือที่เรียกว่าบิดาแห่งชาวเติร์ก ผู้ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างให้กับตุรกี โดยมีวัตถุประสงค์ให้ตุรกีก้าวทันโลกภายนอก อันได้แก่
ข้อแรกก็คือการย้ายศูนย์กลางการปกครองจากนครอิสตันบูลไปยังกรุงอังการา ด้วยเหตุผลทางด้านยุทธศาสตร์ทางการเมืองค่ะ เพราะอังการาตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศทำให้ปลอดภัยต่อการรุกรานจากภายนอก
ข้อสองก็คือการใช้ปฏิทินสากลแทนการใช้ปฏิทินของศาสนาอิสลาม เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกับสากลประเทศ ง่ายต่อการติดต่อและสื่อสาร รวมถึงการเปลี่ยนวันหยุดประจำสัปดาห์ จากเดิมที่ประเทศอิสลามมักจะกำหนดวันศุกร์เป็นวันหยุด ก็เปลี่ยนให้มาเป็นวันอาทิตย์แทนเพื่อความสะดวกในการทำงานร่วมกับชาติอื่นๆ
ประการที่สามที่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างใหญ่ในประเทศอิสลาม ณ เวลานั้น คือเรื่องของการเปลี่ยนภาษาราชการจากภาษาอาหรับที่ใช้กันอยู่เดิม ให้ใช้ภาษาลาตินแทน โดยมองถึงอนาคตที่ต้องติดต่อสื่อสารกับต่างชาติมากขึ้น หากใช้ภาษาที่เป็นสากล จะทำให้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น
ประการที่สี่ ถือเป็นความท้าทายอย่างมากในยุคนั้น คือการพยายามแยกอำนาจการปกครองทางศาสนา และอำนาจการปกครองทางการเมืองให้เป็นอิสระต่อกัน แต่สุดท้ายก็สามารถผ่านไปได้ด้วยดี
ประการที่ห้า คือ การกำหนดให้ครอบครัวเป็นแบบผัวเดียวเมียเดียว ซึ่งศาสนาอิสลามนั้นอนุญาตให้ผู้ชายมีภรรยาได้มากกว่าหนึ่งคน แต่มุสตาฟา เคมาล ให้ความสำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชน และตระหนักถึงความเท่าเทียมทางเพศจึงได้สร้างการเปลี่ยนแปลงนี้ขึ้น
ประการที่หก เป็นเรื่องของการปรับตัวให้ทันกับยุคสมัย โดยประกาศยกเลิกข้อบังคับในการแต่งกายของชายมุสลิม โดยไม่จำเป็นต้องสวมหมวกแขก หรือโพกหัวอีกต่อไป ในขณะที่เพศหญิงก็ไม่จำเป็นต้องปิดบังใบหน้าหรือสวมคลุมชุดดำตลอดเวลาเหมือน ครั้งอดีต
ประการที่เจ็ดเป็นเรื่องการให้ความสำคัญกับ สิทธิสตรี โดยให้โอกาสและให้สิทธิ์กับสุภาพสตรีในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสตรีทั่วไปก็มีสิทธิในการเลือกตั้งอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในครั้งอดีต
แม้ว่าอตาเติร์ก หรือ มุสตาฟา เคมาล จะเป็นผู้มีความเป็นชาตินิยมค่อนข้างสูง ในเวลาเดียวกันก็เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และวางรากฐานให้ตุรกีพัฒนาไปในทิศทางที่ก้าวไปข้างหน้า จนกลายเป็นประเทศมุสลิมที่มีความเป็นตะวันตกค่อนข้างสูง เหมาะที่จะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างโลกตะวันตกและโลกตะวันออกอย่างแท้จริง และจุดนี้ก็สร้างความได้เปรียบในด้านธุรกิจและการเมืองให้กับตุรกีเป็นอย่าง มาก โดยเราจะเห็นได้ว่าเวลานี้ คนตุรกีและสินค้าจากตุรกีได้เข้าไปมีบทบาทในหลายๆประเทศ ไม่ว่าจะเป็นโลกตะวันตกหรือโลกตะวันออกก็ตามที
เส้นทางอันยาวนานทางประวัติศาสตร์ของตุรกี ซึ่งมีทั้งจุดเปลี่ยนถ่ายอำนาจ จุดหักเห และจุดเปลี่ยนแปลง แต่ทุกๆช่วงเวลาก็เชื่อมต่อกันให้ดินแดนแห่งนี้มีความเด่นชัดทางประวัติ ศาสตร์ สะสมประสบการณ์ที่หลากหลาย และพัฒนาไปอย่างมีทิศทางที่สดใส ซึ่งการเรียนรู้เรื่องราวที่มาของชาติตุรกี นอกเหนือจากที่จะทำให้เรารู้จักชาวตุรกีมากขึ้นแล้ว หลายๆตัวอย่างอาจนำมาปรับประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์รอบๆตัวในบ้านเมืองเรา ไม่ว่าอำนาจจะถูกเปลี่ยนถ่ายไปอยู่ในมือของฝ่ายใดก็ตามที เราก็ขอภาวนาให้กลุ่มที่จะเข้ามาทำครองอำนาจจงเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติ เป็นหลัก และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพวกท่านเหล่านั้นจะนำพาประเทศชาติเดินไปข้าง หน้า(เสียที)
|