|

|
ปริศนาแห่งอียิปต์โบราณเปิดสู่การรับรู้อย่างเป็นระบบ ด้วยอักษร
ฮีโรกริฟฟิค |
|
|
 |
ลังการล่มสลายของอาณาจักร.....อารยธรรมอียิปต์ ที่รุ่งเรืองต่อเนื่องมากว่า 7,000 ปี ก็ถูกลืมเลือนทิ้งร้าง หายไปจากการรับรู้ของผู้คน จมหายไปกับทะเลทรายที่โถมทับ.....นานหลายศตวรรษ |
|
|
จวบจนปลายศตวรรษที่ 16 เริ่มมีเรื่องราวของอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ออกมาสู่โลกภายนอก จากบันทึกของพ่อค้าวานิช ชาวตะวันตก ที่บอกเล่าถึงการเดินทาง ล่องเรือเข้ามาตามแม่น้ำไนล์ จนถึงเมืองธีปส์ [Thebes] หรือเมืองลักซอร์ [Luxor] ในปัจจุบัน เป็นการจุดประกายให้นักเดินทางในรุ่นต่อๆมา ให้เดินตามค้นหา ดินแดนปริศนาลึกลับแห่งนี้
ค.ศ 1798 ด้วยการสนับสนุนของนโปเลียน และกองทัพ เกิดการตั้งหน่วยงานที่ทำการ รวบรวมทุกสิ่งอย่างที่ค้นพบ เกี่ยวกับอาณาจักรอียิปต์โบราณ ตั้งแต่วิหารใหญ่โต จนถึงโบราณวัตถุชิ้นเล็กๆทุกชิ้นอัน ทำการการจดบันทึก วาดลายเส้น จัดทำบัญชีเป็นระบบอย่างจริงจัง นับเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษา สืบค้น ย้อนรอยอารายธรรมอันยิ่งใหญ่กลับไปสู่จุดรุ่งเรือง
แต่สิ่งทั้งหลายที่ค้นพบก็ยังมีปริศนา ชวนฉงนอีกมากมาย การประมวลเรื่องราวหรือแปลความหมายของสิ่งต่างๆยังไม่อาจตีความหรือสรุปเรื่องราวได้ชัดเจน ทั้งที่มีการค้นพบจารึกเป็นอักษรโบราณให้เห็นเด่นชัดมากมาย แต่อ่านไม่ออกและไม่เข้าใจความหมาย เหมือนเกิดอาการคันแต่ ไม่สามารถเอื้อมมือไปเกาจุดที่คันได้...!
ค.ศ.1799 ทหารของนโปเลียนได้ค้นเจอ Rosetta Stone บริเวณเมืองRosetta ใกล้เดลต้าแม่น้ำไนล์ ทางตอนเหนือของประเทศอียิปต์ [Lower Egypt] เป็นการพบเจอที่สำคัญครั้งยิ่งใหญ่ |
.....เป็นการพบเจอกุญแจดอกสำคัญที่จะใช้ไขประตูเปิดสู่โลกอียิปต์โบราณ....
|
|
 |
Rosetta Stone กุญแจเปิดประตูส่โลกอียิปต์โบราณ.... ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ British Museum ประเทศอังกฤษ ส่วนที่เห็นจัดแสดงอยู่ใน พิพิธภัณฑ์แห่งอียิปต์ เป็นเพียงรูปจำลอง
เป็นสมบัติอีกชิ้นของอียิปต์ในจำนวนมากมายมหาศาลที่ถูกประเทศต่างๆ หยิบฉวยไปเป็นสมบัติ ทั้งนำไปอย่างได้รับอนุญาตและไม่ได้รับความยินยอม ซึ่งในปัจจุบันรัฐบาลอียิปต์พยามยามขอคืนกลับประเทศ และ Rosetta Stone ก็เป็นหนึ่งในสมบัติที่พยายามขอคืน
|
|
|
 |
Jean François Champollion นักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส บิดาแห่งวิชาวัฒนธรรมอียิปต์โบราณ [Egyetology] ผู้แปลภาษาภาพฮีโรกริฟฟิค อันเป็นภาษาอียิปต์โบราณได้สำเร็จ เกียรติประวัติจากผลงานทางวิชาการของเขา ทำให้ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลฝรั่งเศสให้เป็น Grand Duke of Tuscany,LcopoldII
เขาเกิดเมื่อ 23 ธันวาคม ค.ศ.1790 และ ตายเมื่อ 4 มีนาคม ค.ศ.1832 รวมอายุได้ 43 ปี |
|
|
|
 |
โรเซ็ตต้า สโตน Rosetta Stone เป็นหินแกรนิต น้ำหนัก 760 ก.ก.ขนาด 114.4 ซ.ม.x73.3 ซ.ม.x 27.9 ซ.ม.
สลักขึ้นในสมัย ฟาโรห์ปโตเลมีที่5 [Ptolemy V]
สลักเป็นภาษาโบราณ 3 ภาษา
ส่วนบนสลักเป็นภาษา Hieroglyphs
ส่วนกลางสลักเป็นภาษา Demotic
ส่วนล่างสลักเป็นภาษา Greek
|
Hieroglyphs เป็น ภาษาอียิปต์โบราณ
Demotic เป็นภาษากรีกโบราณที่พัฒนามาจากภาษา Hieratic อีกรูปแบบของภาษาอียิปต์โบราณ ซึ่งมีที่มาจากHieroglyphic
Greek คือ ภาษากรีก
Rosetta Stone นี้เองเป็นวัตถุสำคัญ ที่ช่วยให้ Jean François Champollion นักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ที่มุ่งมั่นศึกษาภาษาอียิปต์โบราณ ได้ถอดความเที่ยบเคียง ภาษาทั้ง 3 เพื่อให้เข้าถึง ภาษาฮีโรกรีฟฟิค โดยใช้ภาษากรีกที่เป็นภาษาที่ยังไม่ตาย อ่านได้เข้าใจได้ เป็นตัวหลักในการเที่ยบเคียง กับภาษา Coptic อันเป็นภาษากรีกโบราณ เกี่ยวโยงกับ ภาษา Demotic ในจารึกของ Rosetta Stone พบว่าเป็นความหมายเดียวกัน และสุดท้ายก็เทียบความกับ อักษรฮีโรกริฟฟิค ในจารึก เป็นคำต่อคำ ทำให้เข้าใจในความหมายของ อักษรแต่ละตัว
เล่ามาแค่สรุปโดยย่อพอให้เข้าใจดูเหมือน จะเป็นขั้นตอนง่ายๆ แต่การทำงานจริงของ Champollion ไม่ง่ายเลยมีความสลับซับซ้อนมากมาย ต้องหาข้อมูลและหลักฐานเที่ยบเคียง สืบค้นกันจนหัวโต ดังนั้นกว่าจะรู้ลึกซึ้ง ก็ค้นคว้ากันตั้งแต่เป็นหนุ่มน้อย จนย่างเข้าวัยหนุ่มใหญ่
ค.ศ.1822 Champollio จึงได้นำเสนอศาสตร์แห่งภาษาอียิปต์โบราณที่เขาค้นพบต่อโลก
ค.ศ.1828 Champollion ได้เดินทางไป อียิปต์ เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในชีวิต ใช้เวลา 1 ปีในการอ่านจารึก ตามวิหารต่างๆ ด้วยผลงานที่ตนได้ค้นพบ เป็นการนำ นวตกรรมใหม่สู่ การศึกษาโลกอียิปต์โบราณอย่างมีหลักการ |
|
|
 |
Hieroglyphic เกิดขึ้นเมื่อราว 3,100 ปีก่อนคริสตศตวรรษ[3,100 BC] และใช้มายาวนาน กว่า 3,000 ปี |
|
|
วิวัฒนาการของภาษาได้เปลี่ยนรูปและผสมกลมกลืน กับภาษาอื่นๆตามเผ่าพันธุ์ที่เข้ามาปกครองดินแดน เกิดเป็นภาษาใหม่ๆหลายภาษา เข้ามาแทนที่ และในที่สุด Hieroglyphic ก็ถูกลืมเลือนหายไป เหมือนกับภาษาโบราณอื่นๆอีกมากมายในโลก ดังนั้นเมื่อมีการค้นพบร่องรอยของอารยธรรมอียิปต์โบราณ ที่มีการสลักรูปและอักษรไว้มากมาย จึงไม่มีใครอ่านได้มานานหลายร้อยปี
อียิปต์โบราณ มีภาษาอยู่ 2 รูปแบบคือ ฮีโรกริฟฟิค[Hieroglyphic] เป็นอักษรภาพต้นแบบ ที่มักสลักเรื่องราวเกี่ยวกับฟาโรห์ ราชวงศ์ กิจการอันเกี่ยวเนื่องกับการปกครองดินแดน และ เรื่องราวทางศาสนา มักจะสลักบนหินปรากฎอยู่ตามวิหารและสิ่งก่อสร้างทั้งหลาย ซึ่งต้องใช้เวลา และฝีมือ ไม่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้สะดวก จึงเกิดอักษรอีกรูปแบบหนึ่งที่ถอดออกมาจากรูปของ ฮีโรกริฟฟิค คือ อักษรเฮียราติค [Heiratic] ที่เป็นอักษรเขียนเป็นลายมือ ง่ายต่อการใช้งาน เหมือนกับปัจจุบันที่เรามีอักษรหลายแบบ หลายสไตล์เพื่อใช้งานในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน อักษร Hieratic มักพบเขียนลงบนกระดาษปาปิรุส [papyrus]บันทึกเรื่องราวทั่วไปในชีวิตประจำวัน ของชาวบ้านชาวเมืองมากมาย นับเป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้โลกได้รู้เรื่องของอารยธรรมของอียิปต์โบราณได้อย่างละเอียด |
|
|
Hieroglyphic
อักษรภาพต้นแบบ |
 |
Hieratic
อีกรูปแบบหนึ่ง ของอักษรอียิปต์โบราณที่ถอดแบบมาจากHieroglyphic ใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป
|
 |
|
|
|

|
อักษรเทียบเคียง ระหว่าง Hieratic ,Hieroglyphic และตัวอัษรที่ใช้ในปัจจุบัน |
|
ชาวอียิปต์ปัจจุบัน ใช้ภาษาอารบิค[Arabic] หรืออาหรับในการสื่อสารทั่วไป แต่ภาษาHieroglyphic ก็ได้ฟื้นคืนชีพ กลับมามีชีวิตใหม่ มีการเทียบเคียงถอดออกมาเป็นตัวอักษรในปัจจุบัน ซึ่งมีประโยชน์มากมายต่อหลายกลุ่มคน และที่แน่นอนพ่อค้าขายของที่ระลึกในอียิปต์ โดยเฉพาะพ่อค้าขายภาพเขียนบนปาปิรุส และพ่อค้าขายคาทูช[cartouche] คงจะยิ้มรับว่าแน่นอนจ้ะนายจ๋า เพราะมันเป็นกลยุทธการขายที่เจาะจงเขียนชื่อลูกค้าเป็นภาษาอียิปต์โบราณลงในสินค้า เป็นหลักประกันได้ว่า ชีวิตที่สองของ Hieroglyphic จะอยู่ต่อไปอีกยาวนานอย่างน้อยๆก็นานตราบเท่าที่อียิปต์ยังสามารถขายปิรามิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้อยู่
ถ้าชีวิตหลังความตายมีจริงเหล่าฟาโรห์ที่ตื่นขึ้นมาจะเชื่อไหมนี่ว่าเวลาที่ได้หลับไหลไปมันยาวนานเป็นพันๆปี ก็เห็นกันอยู่ชัดๆว่าพระนามและจารึกของพระองค์ยังอยู่ครบถ้วน แถมยังมีเพิ่มขึ้นอีกมากมายในกรอบที่แขวนอยู่ตามร้านขายของที่ระลึก........ |
|
|

|
ม้าก้านกล้วย .......... เขียน เรียบเรียง และ Art work
ง
|
|
คลิ๊กแสดงความเห็นได้ที่ FB Page อียิปต์ |
|